บทความเรื่องเสียง Archives - THA STUDIO /category/contentssound/ บริการให้เช่าเครื่องเสียง เครื่องดนตรี เวทีและไฟแสงสี Tue, 03 Aug 2021 05:56:21 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.6.1 /wp-content/uploads/2022/07/cropped-ipstudio-icon-logo-1-32x32.png บทความเรื่องเสียง Archives - THA STUDIO /category/contentssound/ 32 32 ความสำคัญของเครื่องเสียงกลางแจ้งกับงานดนตรี /the-importance-of-instrument-to-sound-equipment/ Thu, 06 May 2021 06:19:01 +0000 /?p=78682 เครื่องเสียงกลางแจ้งไม่ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะในงานคอนเสิร์ตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เครื่องเสียงกลางแจ้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับกิจกรรมอื่นๆ

The post ความสำคัญของเครื่องเสียงกลางแจ้งกับงานดนตรี appeared first on THA STUDIO.

]]>
ความสำคัญของเครื่องเสียงกลางแจ้งกับงานดนตรี

ถ้าหากคุณเคยไปเที่ยวงานคอนเสิร์ตที่จัดขึ้นกลางลานสนามหญ้าหรือริมทะเล นักดนตรีและเสียงเพลงแทบจะเป็นองค์ประกอบหลัก ๆ ที่จะทำให้คุณได้รับอรรถรสของความสุขได้ รวมไปถึงบรรยากาศภายในงาน แสง สี ต่าง ๆ ทั้งหมดสามารถสร้างความสุขให้แก่คุณได้ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญและเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับงานคอนเสิร์ตที่จะสร้างความสุขให้แก่คุณได้ นั่นคือ เครื่องเสียงกลางแจ้ง

เครื่องเสียงกลางแจ้ง (P.A Sound System)

เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งต่องานคอนเสิร์ตเป็นอย่างมาก โดยจะทำหน้าที่กระจายเสียงให้ให้แก่ผู้คนในงานที่มีจำนวนมากให้สามารถได้ยินเสียงดนตรีที่นักดนตรีกำลังบรรเลงอยู่บนเวที หรือกล่าวได้ว่าเครื่องเสียงกลางแจ้งเปรียบเสมือนระบบตัวกลางที่ทำให้นักดนตรีสามารถถ่ายทอดอารมณ์บทเพลงต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนที่มารับชมดนตรีในงานคอนเสิร์ตนั่นเอง

            เครื่องเสียงกลางแจ้งจะต้องมีคุณภาพที่ดี เพื่อที่จะถ่ายทอดเสียงออกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เสียงเป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ โดยเสียงจะเดินทางผ่านตัวกลางได้หลายสถานะ ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ซึ่งเสียงจะมีองค์ประกอบหลัก ๆ คือ

  1. แอมพลิจูด (Amplitude)
  2. ความถี่ (Frequency)
  3. เฟส (Phase)
  4. ความเร็วของเสียงในอากาศ (Velocity)
  5. ความยาวคลื่น (Wavelength)
  6. ฮาร์มอนิกส์ (Harmonic)
  7. เอวเวลอป (Envelope)

อ่านเพิ่มเติมเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร

สรุป : จากองค์ประกอบของเสียงที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า เสียงค่อนข้างที่จะมีรายละเอียดที่ซับซ้อนพอสมควร จึงทำให้การเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบเสียงกลางแจ้งต้องมีคุณภาพที่ดีกับงานคอนเสิร์ต เหมาะสมกับแนวดนตรีและรูปแบบวงดนตรี เหมาะสมกับขนาดสถานที่  ใช้บริการเครื่องเสียงกลางแจ้งคุณภาพดี

3 ส่วนประกอบหลักของเครื่องเสียงกลางแจ้ง

ก่อนที่เสียงจะถูกส่งไปยังหูของผู้ฟังได้นั้น เสียงจะต้องผ่าน 3 ภาคส่วนประกอบหลักที่สำคัญของระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งดังต่อไปนี้

  1. ภาคอินพุท(Input) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ และการรับเสียงต่าง ๆ เข้ามาในระบบ เช่นเสียงกีตาร์ เสียงกลอง เสียงร้อง คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นซีดี โดยทั่วไปบนเวทีคอนเสิร์ตจะพบว่ามีการใช้ไมโครโฟนรับเสียงจากทั้งนักร้อง ตู้แอมป์กีตาร์ กลองชุด รวมไปถึงเครื่องเป่า และจะมีการใช้ DI Box ที่ใช้รับสัญญาณเสียงอย่าง เบส คีย์บอร์ด รวมไปถึงอุปกรณ์สร้างเสียงสังเคราะห์ต่าง ๆ อุปกรณ์ภาคอินพุทราคาเริ่มต้น
  2. ภาคประมวลผล (Process) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำสัญญาณเสียงที่ได้รับจากภาคอินพุทมาปรับแต่งความสมดุลของเสียง ปรับแต่งย่านเสียง ปรับแต่งความดังเบาเสียง หรือแต่งเติมเอฟเฟคเข้าไปในเสียง อุปกรณ์ส่วนใหญ่ในภาคประมวลผลโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย ปรีแอมพลิไฟเออร์ (Pre Amplifier) หรือปรีไมโครโฟน (Pre Microphone) มิกเซอร์ (Mixer) อีคิว (EQ) เป็นต้น อุปกรณ์ภาคประมวลผลราคาเริ่มต้น
  3. ภาคเอ้าท์พุท (Output) เป็นส่วนสุดท้ายของระบบ ในส่วนนี้จะรับสัญญาณที่ได้จากการปรับแต่งในภาคประมวลผลมาขยายเสียงด้วยเครื่องขยายเสียง (Power Amplifier) โดยจะทำการเพิ่มขนาดสัญญาณและส่งต่อสัญญาณไปยังลำโพงที่ตอบสนองย่านความถี่ต่าง ๆ อุปกรณ์ภาคเอ้าท์พุทราคาเริ่มต้น

สรุป : 3 ภาคส่วนประกอบหลักที่สำคัญของระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งคือ ภาคอินพุท(Input) > ภาคประมวลผล (Process) > ภาคเอ้าท์พุท (Output)

บทบาทหน้าที่ Sound Engineer ต่อเครื่องเสียงกลางแจ้ง

นอกจากเครื่องเสียงกลางแจ้งที่มีคุณภาพดีเพื่อที่จะกระจายเสียงที่ดีให้แก่ผู้คนในงานคอนเสิร์ต ยังมีอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ วิศวกรเสียง (Sound Engineer) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ซาวด์เอ็น” ซึ่งซาวด์เอ็นจะมีหน้าที่ควบคุมระบบของเครื่องเสียงกลางแจ้งทั้งหมด เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการจัดการด้านเสียงในทุก ๆ ภาคของระบบ

     ซาวด์เอ็นจะเป็นผู้ดูแลและควบคุมในแทบจะทุกภาคส่วนของระบบเครื่องเสียงกลางแจ้ง อย่างเช่น

  1. ภาคอินพุท(Input) ซาวด์เอ็นจะเป็นผู้ควบคุมเกี่ยวกับการวางตำแหน่งไมโครโฟนรับเสียง การเลือกใช้ไมโครโฟนให้เหมาะสมกับการรับเสียง รวมไปถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ในการรับสัญญาณเสียงต่าง ๆ
  2. ภาคประมวลผล (Process) จะเป็นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับซาวด์เอ็นมากที่สุด เนื่องจากซาวด์เอ็นจะเป็นผู้ควบคุมระบบนี้ โดยจะมีหน้าที่ปรับแต่งความสมดุลของเสียง ปรับแต่งย่านเสียง ปรับแต่งความดังเบาเสียง หรือแต่งเติมเอฟเฟคเข้าไปในเสียง เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ออกมาดีหรือเหมาะสมกับแนวดนตรีนั้น ๆ
  3. ภาคเอ้าท์พุท (Output) ซาวด์เอ็นจะเป็นผู้ควบคุมเกี่ยวกับการจัดตำแหน่งต่าง ๆ ของลำโพง โดยจะคำนึงถึงคุณภาพเสียงที่ผู้คนจะได้ยินในตำแหน่งต่าง ๆ ในงานคอนเสิร์ต ให้มีเสียงที่มีคุณภาพดีในทุกบริเวณภายในงานคอนเสิร์ต

สรุป : Sound Engineer ดูแลกำกับในส่วนของระบบการแก้ไขปรับแต่ง ภาคอินพุท(Input) > ภาคประมวลผล (Process) > ภาคเอ้าท์พุท (Output)

เครื่องเสียงกลางแจ้งสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ

เครื่องเสียงกลางแจ้งไม่ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะในงานคอนเสิร์ตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เครื่องเสียงกลางแจ้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ เช่นกัน ลานเต้นแอโรบิคที่จะต้องมีการเปิดเพลงเพื่อประกอบการเต้น งานกีฬาต่าง ๆ ก็ยังจะต้องใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งสำหรับการขยายเสียงผู้ประกาศหรือกรรมการ หรือแม้กระทั่งการออกบูทขายสินค้าต่าง ๆ สำหรับการเลือกใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งนั้น ควรจะเลือกใช้ให้มีคุณสมบัติที่ตรงตามกิจกรรม ขนาดของงานคอนเสิร์ต หรือขนาดของสถานที่ คงจะไม่เหมาะเท่าไรนักถ้าหากใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งในขนาดชุดเล็กกับงานคอนเสิร์ตที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ยกตัวอย่างการเลือกใช้เครื่องเสียงให้เหมาะสมเช่น

การเลือกใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดเล็กสำหรับวงดนตรีอะคูสติกที่จะบรรเลงในโซน Outdoor ของร้านกาแฟก็คงจะเหมาะไม่น้อยรับติดตั้งระบบเสียงร้านอาหาร

สรุป: เครื่องเสียงกลางแจ้ง

โดยทั่วไปแล้วจะมีบริษัทเครื่องเสียงที่ให้บริการด้านระบบเสียงสำหรับการจัดงานคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมต่าง ๆ ผู้จัดงานสามารถว่าจ้างบริษัทเครื่องเสียง ผู้จัดงานเพียงแค่แจ้งรายละเอียดต่าง ๆ ของงานกิจกรรม เช่น ขนาดสถานที่ รูปแบบวงดนตรี หรือสิ่งที่ต้องการเกี่ยวกับด้านเสียง เป็นต้น บริษัทเครื่องเสียงจะทำการออกแบบระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งและเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับงาน เพื่อสร้างเสียงที่ดีที่สุดออกมา ใช้บริการเครื่องเสียงกลางแจ้ง

The post ความสำคัญของเครื่องเสียงกลางแจ้งกับงานดนตรี appeared first on THA STUDIO.

]]>
เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้าง /theory-001-what-is-sound/ Sun, 28 Apr 2019 09:19:17 +0000 /?p=74636 เสียงเป็นประเภทคลื่นกล (Mechanical wave) เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน จะทําให้เกิดการอัดตัว และการขยายตัว

The post เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้าง appeared first on THA STUDIO.

]]>

เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร?

เสียงเป็นประเภทคลื่นกล (Mechanical wave) เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน จะทําให้เกิดการอัดตัว และการขยายตัวของคลื่นเสียง แล้วถูกส่งผ่านไปยังตัวกลางเช่น เสียงจากลำโพงผ่านอากาศแล้วไปยังหู (เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลวและของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้) เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมองทําให้เรารับรู้และจําแนกเสียงต่างๆได้


เรื่องคลื่น: คลื่นคืออะไรเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

คลื่นจำแนกโดยใช้ตัวกลางแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  • คลื่นกล (Mechanical wave) คือ คลื่นที่อาศัยตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงาน หรือคลื่นที่ใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นผิวน้ำ คลื่นแผ่นดินไหว คลื่นในเส้นเชือก คลื่นในสปริง คลื่นเสียง
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) คือ คลื่นที่ไม่อาศัยตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงาน หรือคลื่นที่ไม่ใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ ได้แก่ คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ รังสีอินฟราเรด แสงที่มองเห็น รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา

คลื่นจำแนกตามลักษณะการสั่นของแหล่งกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  • คลื่นตามยาว (Longitudinal wave) คือ คลื่นที่เกิดจากอนุภาคของตัวกลาง เคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับแนวการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง คลื่นในสปริง (แบบอัด-ขยาย) คลื่นแผ่นดินไหวแบบ P (P-wave)
  • คลื่นตามขวาง (Transverse wave) คือ คลื่นที่เกิดจากอนุภาคของตัวกลาง เคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก คลื่นในสปริง (แบบสบัดขึ้นลง) คลื่นแผ่นดินไหวแบบ S (S-wave) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นจำแนกตามความต่อเนื่องของแหล่งกำเนิด และจำนวนครั้งที่เกิดแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

  • คลื่นดล (Pulse Wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่น หรือการรบกวนตัวกลางเป็นช่วงเวลาสั่น ๆ ลักษณะการเกิดเพียงแค่ 1 หรือ 2คลื่น เท่านั้นที่แผ่ออกไป ตัวอย่างเช่น การโยนก้อนหินลงน้ำ
  • คลื่นต่อเนื่อง (Continuous Wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่น หรือการรบกวนตัวกลางอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดคลื่นแผ่ออกไปเป็นขบวนอย่างต่อเนื่อง เช่น คลื่นที่เกิดขึ้นในทะเล

สรุปคือ คลื่นเสียง(Sound wave) เป็นคลื่นที่อาศัยตัวกลางฉะนั้นจึงเป็น คลื่นกล (Mechanical wave) และมีลักษณะการสั่นแบบคลื่นตามยาว (Longitudinal wave) ความต่อเนื่องของคลื่นเป็นแบบ คลื่นดล (Pulse Wave)

คุณสมบัติที่ทำให้เกิดคลื่นเสียงมี 7 อย่างด้วยกันคือ

  1. แอมพลิจูด
  2. ความถี่
  3. เฟส
  4. ความเร็ว
  5. ความยาวคลื่น
  6. ฮาร์มอนิก
  7. เอ็นเวลอป

การเข้าใจคุณสมบัติพื้นฐานของเสียงทั้ง 7 อย่าง จะช่วยให้เราเข้าใจระบบการบันทึกเสียงและระบบเสียง PA มากขึ้น และก้าวมาเป็นซาวด์เอ็นจิเนียร์ซึ่งทำหน้าที่มิกซ์เสียง และยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับเสียง สามารถอธิบายเรื่องของเสียงได้อย่างมีเหตุมีผลหมายเหตุ : อันที่จริงทุกท่านรู้จักและคุ้นเคยกับแอมพลิจูดและความถี่เสียงจากชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ถ้าท่านเคยปรับแต่งโทนเสียงของเครื่องเล่นสเตอริโอในบ้านหรือเครื่องขยายเสียงบนรถยนตร์ ผลลัพธ์ของเสียงที่เปลี่ยนไปล้วนเกี่ยวข้องกับแอมพลิจูดและความถี่เสียงทั้งสิ้น เช่น

  • การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความดังจะเกี่ยวกับเรื่องแอมพลิจูด
  • การปรับทุ้มแหลมเป็นเรื่องความถี่ หรือช่วงของย่านความถี่
  • คุณสมบัติทั้งหมด 7 อย่างจะอธิบายรายละเอียดอีกทีในบทถัดไป

The post เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้าง appeared first on THA STUDIO.

]]>
สายสัญญาณเสียงBlanced-Unbalance /blanced-unbalanced/ Sun, 07 Apr 2019 06:31:48 +0000 /?p=73633 การทำงานเกี่ยวกับระบบเสียง เราจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทของสายสัญญาณเสียงให้ได้ถูกต้อง ซึ่งประสบการณ์ส่วนตัว มีน้องๆหลายคนที่เข้ามา

The post สายสัญญาณเสียงBlanced-Unbalance appeared first on THA STUDIO.

]]>

ในการทำงานเกี่ยวกับระบบเสียง เราจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทของสายสัญญาณเสียงให้ได้ถูกต้อง ซึ่งประสบการณ์ส่วนตัว มีน้องๆหลายคนที่เข้ามาทำงานกับผมแล้วไม่รู้จักประเภทของสายสัญญาณเสียงหรือมีความเข้าใจแบบผิดๆ เมื่อให้ไปหยิบก็หยิบผิดมั้งถูกมั้งตามแต่ที่น้องๆจะเข้าใจ

ปัจจุบันนั้นสายสัญญาณเสียงแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ สายสัญญาณเสียงแบบ Unbalance และ สายสัญญาณเสียงแบบ Balance (ซึ่งในหลายๆครั้งผมจะได้ยินหลายๆ ท่านบอกว่าอันนี้สาย Mono อันนั้นสาย Stereo ซึ่งในบทความนี้ ผมจะไม่เรียกแบบนั้น เพราะว่าผมให้คำนิยามของคำว่า Mono หรือ Stereo ใช้เป็นรูปแบบของการฟังเสียงมากกว่าครับ)

ซึ่งบทความนี้ตั้งใจอธิบายแบบเพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับสายสัญญาณเสียงเพื่อที่จะสามารถนำความรู้ไปใช้งานได้จริง


สายสัญญาณเสียงประเภทแรก Unbalanced

สายสัญญาณ

เป็นการเชื่อมต่อของสายสัญญาณเสียงในยุคแรกๆ ซึ่งนิยมในหมู่ผู้ใช้เครื่องเสียงบ้าน โดยมีการใช้สายสัญญาณทั้งหมดสองเส้นเท่านั้นคือ ขั้วบวกและขั้วดิน ความแรงของสัญญาณ Unbalanced จะอยู่ที่ -10dBv สายสัญญาณประเภท Unbalanced ไม่เหมาะกับงานที่ต้องเดินสายยาวๆที่เกิน 3-4 เมตร เพราะจะทำให้สูญเสียสัญญาณ หรือเกิดอาการที่ทุกคนเรียกว่า “เสียงดร็อบ” นั้นเอง ซึ่งอาการเสียงดร็อบเหล่านี้เกิดความต้านทาน (Impedanced) ของสายสัญญาณ

สรุปคือ สายยาวมากความต้านทานก็จะยิ่งสูงนั้นเอง

หัวแจ็คที่ใช้กับสายสัญญาณ Unbalanced จะมีหลักๆด้วยกัน 2 แบบคือ

ภาพด้านขวา

  • รูปที่ 1.Phone Jack 1/4” (TS)
  • รูปที่ 2 และ
  • รูปที่3. RCA Jack

ประเภท

  • Phone Jack หรือ 1/4″ เรียกว่า TS
  • RCA หรือ พระราม 9 นี่เอง ฮาาาาาา

ยกตัวอย่าง

อุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ใช้ สัญญาณเสียงแบบ Unbalanced หัวแจ็คแบบ Phone 1/4”(TS) ได้แก่ กีต้าร์, เบส, คีย์บอร์ด, เอฟเฟคบางประเภท เป็นต้น

อุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ใช้ สัญญาณเสียงแบบ Unbalanced หัวแจ็คแบบ RCA ได้แก่ เครื่องเล่นเพลง, อุปกณ์เครื่องเสียง เป็นต้น

สายสัญญาณเสียงประเภทที่สอง Balanced

มีการใช้สายสัญญาณทั้งหมดถึงสามเส้นด้วยกัน ได้แก่ ขั้วบวก ขั้วลบ และขั้วดิน ความแรงของสัญญาณ Balance จะอยู่ที่ +4dBv จะสังเหตุเห็นว่าความแรงของสัญญาณสูงกว่าสายสัญญาณประเภท Unbalance มาก เป็นผลทำให้ ได้กระแสสัญญาณในการเดินทางที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เราใช้สายสัญญาณในระยะทางที่เพิ่มขึ้นได้ “โดยลดการสูญเสียสัญญาณที่มาจากความต้านทาน (Impedanced) ที่อยู่ในเครื่องมือหรือสายสัญญาณลงไปได้มาก” ความยาวของสายและคุณภาพของสายจะให้ผลที่ตามมาคือ คุณภาพเสียงที่ชัดเจน เสียงรบกวนต่างๆตํ่าลง มีมิติชัดเจน แม่นยำขึ้น ย่านความถี่สมบูรณ์มากขึ้น

สรุป: ด้วยคุณสมบัติที่ดีเหล่านี้ ส่งผลให้การทำงานของระบบเสียง PA ที่มีการใช้สายสัญญาณที่ยาวหลายสิบเมตร และต้องมีการเชื่อมต่อผ่านเครื่องมือจำนวนมากนั้น สามารถลดปัญหาในเรื่องของความต้านทาน (Impedanced) ออกไปได้เป็นอย่างดี

Block "75299" not found

หัวแจ็คที่ใช้กับสายสัญญาณ Balance ก็จะมีหลักๆ ด้วยกัน 3 แบบคือ

หัวแจ็ค
จากรูปภาพ
  • รูปที่ 1.Phone Jack 1/4” TRS
  • รูปที่ 2. XRL
  • รูปที่ 3. Phone Jack 3.5mm
  1. Phone Jack หรือ 1/4″ เรียกว่า TRS
  2. Phone Jack 3.5 mm
  3. Jack แบบ XLR

ยกตัวอย่าง

  • อุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ใช้ สัญญาณเสียงแบบ Balanced หัวแจ็คแบบ Phone 1/4”(TRS) ได้แก่ มิกซ์เซอร์ เอฟเฟคบางประเภท, อุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นต้น
  • อุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ใช้ สัญญาณเสียงแบบ Balanced หัวแจ็คแบบ Phone Jack 3.5 mm ได้แก่ เครื่องเล่นเพลง, อุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นต้น
  • อุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ใช้ สัญญาณเสียงแบบ Balanced หัวแจ็คแบบ XLR ได้แก่ ไมค์ร้อง, มิกซ์เซอร์, เอฟเฟคบางประเภท, อุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นต้น

คำถามยอดฮิต

  • Q. สายสัญญาณเสียงแบบ Balanced ทำไมหัวแต่ละฝั่งไม่เหมือนกัน?
  • A. บางทีอุปกรณ์แจ็คนั้นคนละแบบกัน ดังในรูปด้านล่างจะถูกเรียกว่า สายวาย คือ ด้านหนึ่งเป็น หัวแบบ Balanced ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็น หัวแบบ Unbalanced  2 หัว
สายสัญญาณ

ประเภท

  1. เป็นหัว Phone 1/4”(TRS) อีกฝั่งเป็น XLR สายสัญญาณเป็นแบบ Balanced
  2. เป็นหัว Phone Jack 3.5 mm อีกฝั่งเป็น RCA (สองหัว) สายสัญญาณเป็นแบบ Balanced
  3. เป็นหัว Phone 1/4”(TS) (สองหัว) อีกฝั่งเป็น XLR สายสัญญาณเป็นแบบ Balanced

ตัวอย่างไดอะแกรมการเชื่อมสายสัญญาณกับหัวแจ็ค

อ้างอิงรูปภาพมาจาก https://www.rane.com/note110.html

หัวแจ็คประเภทต่างๆ

จากภาพ
  1. Phone TS ตัวเมีย
  2. Phone TS ตัวผู้
  3. XLR ตัวเมีย
  4. XLR ตัวผู้
  • Q. ทำไม หัวแจ็คมีสองเพศ คือตัวผู้และตัว ใช่ไหม?
  • A. ใช่ครับเพราะหัวแจ็คมีสองแบบคือ ด้านฝั่งตัวผู้และฝั่งตัวเมีย ไม่ว่าจะเป็น XLR TRS RCA และอื่นๆ วิธีการดูว่าเป็นเพศไหนก็คือ ตัวผู้จะมีที่เสียบ ส่วนตัวเมียนั้นมีรูไว้เสียบครับ แหะๆ

เราพูดถึงคนที่ทำงานกับเรื่องเสียงไปแล้ว มาพูดถึงนักตรีกันบ้าง
คำถามคือนักดนตรีจำเป็นต้องรู้เรื่องสายสัญญาณไหม?

     การทำงานระหว่างนักดนตรีกับผู้ให้บริการให้เช่าเครื่องเสียงและซาวด์เอ็นจิเนีย์ ในหลายๆครั้งมีการกระทบกระทั้งกันบ่อย เนื่องจากความเข้าใจผิด จากการขอสายสัญญาณเพราะไม่ทราบว่าสายสัญญาณที่ตัวเองต้องใช้คืออะไร และหัวแจ็คและประเภทสายเป็นแบบไหน นักดนตรีส่วนหนึ่งมักจะใช้ความเคยชินเป็นหลักในการต่อสายสัญญาณเป็นหลัก เช่น ฉันเคยใช้สายแบบ unbalance หัวแจ็คแบบนี้ Phone TS ฉันก็จะใช้แบบนี้ ถ้านอกเหนือจากนี้หรือเป็นสิ่งแปลกใหม่ฉันไม่ใช้เพราะกลัวว่าเสียงจะไม่ดี ซึ่งในความเป็นจริงนั้นอาจจะไม่ใช่เพราะบางทีอุปกรณ์นั้นมีช่องทางออกของเสียงที่ดีกว่า เช่น มีช่องเสียบสายสัญญาณ Balance หัวแบบ XLR ซึ่งให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า แจ็ค Phone แบบ Unbalanced  เป็นต้น

The post สายสัญญาณเสียงBlanced-Unbalance appeared first on THA STUDIO.

]]>
ระดับเสียง PITCH & FREQUENCY คืออะไร ? /get-to-know-pitch/ Sat, 25 Mar 2017 05:45:51 +0000 https://undsgn.com/uncode_new/?p=20528 บทความแรกของเพจของเสนอคำว่า Picth (ระดับเสียง) สำหรับนักดนตรีทุกท่านคงคุ้นชินกันอยู่แล้ว ส่วนผู้เริ่มเล่นดนตรีมือใหม่อาจจะยังไม่รู้จัก

The post ระดับเสียง PITCH & FREQUENCY คืออะไร ? appeared first on THA STUDIO.

]]>

     บทความแรกของเพจของเสนอคำว่า Picth (ระดับเสียง) สำหรับนักดนตรีทุกท่านคงคุ้นชินกันอยู่แล้ว ส่วนผู้เริ่มเล่นดนตรีมือใหม่อาจจะยังไม่รู้จัก เรามาทำความรู้จักคำนี้ไปพร้อมๆกัน


Picth (ระดับเสียง) หมายถึงเสียงสูงและเสียงต่ำแล้วคืออะไรละเสียงสูงเสียงต่ำ ในที่นี้ผมจะยกตัวอย่างให้ดู

ตัวอย่างที่ : 1

     ถ้าเรากดแป้นคีย์เปียโนที่อยู่ด้านซ้ายสุด แล้วกดไล่มาเรื่อยๆจนถึงแป้นคีย์ขวาจนสุด เราจะพบว่าเสียงจะค่อยๆไล่จากต่ำไปยังเสียงสูงตามลำดับ

ตัวอย่างที่ : 2

     แล้วถ้าเป็นกีต้าร์ละลองดีดสาย 6 ไล่ดีดมาจนถึงสายที่ 1 เราจะพบว่าเสียงต่ำจะไล่ไปยังเสียงสูงเช่นกัน (ในที่นี้ตั้งสายแบบมาตราฐานนะครับ คือ E A D G B E) ทุกท่านอาจจะมีคำถามว่าแล้วเสียงต่ำและเสียงสูง เกิดขึ้นได้อย่างไรละ?

     เสียงต่ำและเสียงสูงเกิดจากระดับเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ โดยวัตถุที่สั่นสะเทือนเร็วกว่าจะมีความถี่มากกว่าทำให้เกิดระดับเสียงสูงกว่า ในขณะที่วัตถุที่สั่นสะเทือนช้ากว่ามีความถี่น้อยกว่าทำให้เกิดระดับเสียงต่ำกว่า ซึ่งในที่นี้จะเป็นหลักทางวิทยาศาสตร์ ซึ่ง “ความถี่เป็นตัวกำหนดระดับเสียง” ซึ่งได้มาจากการวัดความสั่นสะเทือนของวัตถุ โดยมีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (Hertz) ในที่นี้ผมจะยกตัวอย่างให้ดูนะครับ

ตัวอย่างที่ : 3

     ถ้าเราเล่นเปียโนโน็ตตัว A ความถี่ 440 Hertz พร้อมกับเล่นโน็ตตัว A ความถี่ 880 Hertz เมื่อเทียบกันระหว่างโน้ต A 440 Hertz กับ โน้ต A 880 Hertz โน็ตตัว A 440 Hertz จะมี ”เสียงต่ำกว่า” โน็ตตัว A 880 Hertz จะมี “เสียงสูงกว่า”
ซึ่งในทางดนตรี จะเรียก ”โน็ตที่มีความถี่ห่างกันหนึ่งเท่าตัว หรือ 1 ช่วงคู่แปด (Octave)”

     ตัวอย่างที่ : 4

     โน็ต A 440 Hertz จะมีหนึ่งช่วงคู่แปด ของโน็ตตัว A 880 Hertz จากโน็ต C 262 Hertz จะมีสองช่วงคู่แปด ของโน็ตตัว C 1047 Hertz


ภาพตัวอย่างด้านล่างคือความถี่ของเครื่องดนตรีต่างๆ เช่น เปียโนมีความถี่ตั้งแต่ 28 – 3951 Hz, กีต้าร์มี ความถี่ตั้งแต่ 82 – 1,919 Hz เป็นต้น

The post ระดับเสียง PITCH & FREQUENCY คืออะไร ? appeared first on THA STUDIO.

]]>